วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 4


บทที่ 4 ผลการศึกษา

การศึกษาบทบาทของสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน มีวัตถุประสงค์ดังนี้
        1.ศึกษาข้อมูลของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวด                     ประจำเดือน
        2.ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน

มีผลการศึกษา ดังนี้
        1.ศึกษาข้อมูลของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน
                1.1 สืบค้นข้อมูลสรรพคุณของสมุนไพรชนิดต่างๆ
              - พริกไทย
 แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุ แก้อาการอาหารแน่น ปวดมวนท้อง
              - กานพลู แก้ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด                         แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ                           บำรุงธาตุ ขับเสมหะ
              - กระวาน แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ไข้ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อัน                     ง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ รักษาโรคโลหิต
              - ดีปลี แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้ปวดเมื่อย
                         แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู
                - ไพล  แก้อาเจียน แก้ปวดฟันขับโลหิตกระจายเลือด ขับประจำเดือนสตรี
                - เร่ว ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ
                       แก้ปวดท้อง
                - ว่านน้ำ ระงับอาการปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้
                - จันทน์ลูกหอม บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อน
                                ในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ
                - ขิง ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ
                      แก้บิด แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วงบำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง
              - กุ่มน้ำ แก้ริดสีดวงทวาร แก้นิ่วขับหนอง แก้เจ็บตา และในลำคอ แก้ไข้

              - กระทือ ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม

              - ดอกจันทร์ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร
              - เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง ขับเลือดเน่าของสตรี ขับเลือด และหนอง
                                                 แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล


              - กระเทียม ป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน
                             ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และ
                             ปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด
                - โกฐสอ แก้ไข้ แก้หืด ไอ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น แก้ริดสีดวง
                - โกฐเขมา  เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ เป็นยาเจริญ
                             อาหาร ยาขับปัสสาวะ  แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย แก้เสียด
                             แทงสองราวข้าง แก้จุกแน่น แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ แก้หวัดคัด
                             จมูก แก้ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ขา
                             ปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ แก้ท้องเสีย 
                - โกฐหัวบัว แก้ปวดศีรษะ แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมา
                             ไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค
                             โรคเข้าข้อ ตกเลือด
                - โกฐเชียง ช่วยบำรุงโลหิต กระจายโลหิต
              - โกฐจุฬาลัมพา แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ดีซ่าน
              - เทียนดำ แก้ท้องอืด เฟ้อ แก้อาเจียน บำรุงโลหิต  ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับระดู
                           บีบมดลูก แก้โรคลม ขับพยาธิมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด
              - เทียนแดง แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมเสียดแทงสองราวข้าง  ขับน้ำนม 
                            แก้ลักปิดลักเปิด ฟอกโลหิต มีฤทธิ์ขยายหลอดลม
              - เทียนขาว นิ่ว ขับระดูขาว ผสมกับยาระบายแก้ปวดมวน
              - เทียนตาตั๊กแตน  บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อในเด็ก แก้โรคกำเดา
              - เทียนข้าวเปลือก  บำรุงกำลัง ขับผายลม ขับเสมหะ
       

        1.2 นำสมุนไพรทุกชนิดมาต้มรวมกันเป็นยาหม้อ เนื่องจากสมุนไพรต่างๆมีสรรพคุณคล้ายกัน
             น่าจะช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนได้





รูปที่ 1.2.1  หนึ่ง  นำหม้อต้มยาใส่น้ำแล้วตั้งไฟให้เดือด


รูปที่ 1.2.2สอง ใส่สมุนไพรทุกชนิด ในปริมาณ 1ช้อนโต๊ะ

รูปที่ สาม  สมุนไพรที่เป็นชิ้น ให้ใส่ประมาณ 1-2ชิ้น




รูปที่ 1.2.4สี่      ปิดฝาหม้อ รอให้ยาเดือด แล้วต้มให้งวดจนเหลือ ¼ เพื่อให้ได้ยาที่เข้มข้น



รูปที่ 1.2.5 ห้า   ยาเดือด



  
   
รูปที่ หก  ใช้กระชอนกรองกากยา เพื่อให้ได้ตัวยาที่ต้องการ 



รูปที่ 1.2.7เจ็๋ด ตัวยาที่ได้จากการต้มสมุนไพร




       2.ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน
                2.1 ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรโดยทำแบบสอบถามบันทึกผลการทดลองดื่มยา                 สมุนไพร ในช่วง 1-7 วัน




      

ตารางบันทึกผลการทดลอง

อาการหลังจากที่ดื่ม
ความถี่ (จำนวน/คน)
มาก
ปานกลาง
น้อย
หมายเหตุ
อาการมึน งง ขณะที่ทำกิจกรรมอย่างรวดเร็ว
-
1
2
1 คน ไม่มีอาการ
อาการปวดประจำเดือน
-
-
3
1 คน ปกติ
อาเจียน
-
-
2
2 คน ปกติ
อาการปวดท้อง ท้องอืด
-
1
3
-
การมีประจำเดือน
-
2
1
1 คน ปกติ






จากตาราง สรุปผลได้ว่า

        1.อาการมึน งง ขณะที่ทำกิจกรรมอย่างรวดเร็วเกิดปานกลางและน้อยจนถึงไม่มีอาการ                 ดังกล่าว
        2.อาการปวดประจำเดือนเกิดน้อยมากจนถึงปกติ
        3.อาการอาเจียนพบได้น้อย และไม่พบเลย
        4.อาการปวดท้อง ท้องอืดเกิดปานกลางจนถึงเกิดอาการดังกล่าวน้อยลง
        5.การมีประจำเดือนพบว่ามาปกติ และยังพบว่าประจำเดือนยังมาน้อย





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น