วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทที่ 3


บทที่ 3 วิธีการศึกษา
การศึกษาบทบาทของสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือนมีวัตถุประสงค์ดังนี้
       1.ศึกษาข้อมูลของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวด                    ประจำเดือน
        2.ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน
คณะผู้รายงานกำหนดขั้นตอน/วิธีการศึกษาไว้ ดังนี้
วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้

        1.สมุนไพร 24 ชนิดประกอบด้วย กานพลู พริกไทย กระวาน ดีปลี ไพล เร่ว ว่านน้ำ ลูกจัน           กุ่ม ขิง  กะทือ ดอกจัน เปราะหอม กระเทียม โกฐทั้ง5 และเทียนทั้ง5
        2.หม้อต้มยา
        3.น้ำสะอาด
        4.กระชอน หรือผ้าขาวบาง
        5.แก้วน้ำ
        6.ช้อนโต๊ะ 1 คัน
วิธีการ/ขั้นตอนการศึกษา
1.ขั้นเตรียม
        1.1 ศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด
        1.2 หาซื้อสมุนไพรทั้ง 24 ชนิดจากร้านขายยาสมุนไพร
        1.3 เตรียมหม้อต้มยา และน้ำสะอาด
        1.4 เตรียมกระชอนหรือผ้าขาวบางเพื่อที่จะกรองกากยา
        1.5 เตรียมแก้วน้ำสำหรับใส่ยาที่ได้จากการกรอง
2.ขั้นดำเนินการ
        2.1 นำหม้อต้มยา ใส่น้ำครึ่งหม้อแล้วนำไปตั้งไฟ ปิดผาหม้อรอให้น้ำเดือด
        2.2 เมื่อน้ำเดือดแล้วให้ใช้ช้อนโต๊ะตวงยาที่เป็นผง 1ช้อนโต๊ะลงไปในหม้อ ใส่ให้ครบทุกชนิด            ส่วนที่เป็นหัวเป็นลูกให้ใส่ประมาณ 1-2 หัว
        2.3 ตั้งไฟทิ้งไว้ รอจนกว่ายาจะงวดจนเหลือน้ำประมาณ
¼ เพื่อให้ได้ยาที่เข้มข้น
        2.4 จากนั้นนำมากรอเอาน้ำด้วยกระชอนหรือผ้าขาวบาง ก็จะได้ยาที่เราต้องการศึกษา                     ทดลอง
3.ขั้นสรุปและรายงานผล
        3.1 แจกแบบสอบถามบันทึกผลการทดลองโดยให้ผู้ที่เป็นเพศหญิงทดลองดื่ม
        3.2 รวบรวมข้อมูลที่ได้แล้วบันทึกในรูปแบบตาราง
        3.3 สรุปผลการทดลองการศึกษาบทบาทของสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น