วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าปก


รายงาน

การศึกษาบทบาทของยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน





                                 จัดทำโดย  
    1. นายพีรพัฒน์       พลายแก้ว        ชั้น ม.6/6     เลขที่ 10
    2. นางสาวทัตพิชา   แววทอง          ชั้น ม.6/6     เลขที่ 35
    3. นางสาวนัตยา      โพธิ์ศรี           ชั้น ม.6/6     เลขที่ 36
    4. นางสาวนิตยา      ศรีเทียมจันทร์   ชั้น ม.6/6     เลขที่ 37

       รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา I30201 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
    
   โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 3
       อำเภอด่านช้าง   จังหวัดสุพรรณบุรี


สารบัญ


สารบัญ

เรื่อง                                                              หน้า

บทคัดย่อ                                                                                    ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                     ข
บทที่1 บทนำ                                                                           1 - 3
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                    4 - 18
บทที่ 3 วิธีดำเนินงาน                                                             19- 20
บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                             21- 27
บทที่ 5 สรุปผลการศึกษา                                                           28
ภาคผนวก
บรรณานุกรม

บทคัดย่อ



บทคัดย่อ

การศึกษาบทบาทของยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
        1.ศึกษาข้อมูลของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวด                    ประจำเดือน 
        2.ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน

และสามารถสรุปผลการศึกษาทดลองได้ดังนี้
        1. สมุนไพรชนิดต่างๆสามารถรักษาอาการปวดท้อง บำรุงโลหิต ฟอกเลือด เช่น กระวานช่วย          บำรุงโลหิต ดีปลีช่วยขับระดู ไพลช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย                       แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟันแก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อเร่วขับน้ำนม               แก้ปวดท้อง เป็นต้น
        2. ยาสมุนไพรสามารถรักษาอาการปวดประจำเดือนได้จริง














        กิตติกรรมประกาศ


        โครงงานเรื่องการศึกษาบทบาทของยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ทำขึ้นมาเพื่อที่จะศึกษาสรรพคุณของสมุนไพรที่สามารถช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือนหรือเกี่ยวกับระบบโลหิตได้ โครงงานนี้ได้พื้นฐานมาจาก ยาเลือดซึ่งเป็นยาที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ คณะผู้จัดทำจึงนำมาศึกษาเพิ่มเติมและหวังว่าผลการศึกษาทดลองนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่จะศึกษาสรรพของสมุนไพรที่ช่วยบำรุงระบบโลหิตไม่มากก็น้อย หากผิดพลาดประการใด ขออภัย ณ ที่นี้


                                                                                                        คณะผู้จัดทำ                                          

ภาคผนวก

































ภาคผนวก



บรรณานุกรม


บรรณานุกรม


บทที่ 1


บทที่ 1 บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
        การทำผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรมาใช้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ ใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับภาวะสุขภาพของบุคคลนั้นๆ อ้างอิง(http://www.abhaiherb.com) ซึ่งสมุนไพรแต่ละชนิดมีสรรพคุณต่างกัน ช่วยรักษาอาการต่างกันหรือมีที่คล้ายกันในบางชนิด และด้วยความรู้เรื่องสูตรยาเลือดจากบรรพบุรุษสืบต่อมา กลุ่มผู้จัดทำจึงไปศึกษาข้อมูลของสมุนไพรแต่ละชนิดที่ใช้ในการประกอบยาเลือดที่อ้างว่ามีสรรพคุณในการบำรุงโลหิต รักษาอาการปวดประจำเดือนในสตรี พบว่าสมุนไพรต่างๆ เช่น พริกไทย ช่วยขับลม ขับเสมหะขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย  กานพลูช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา กระวานรักษาโรคโลหิตเป็นพิษกระพี้ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิตใบ แก้ลมสันนิบาด ขับผายลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด ดีปลีแก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แกไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสียรสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู                                       (http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B9)
ไพลช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟันขับโลหิต เร่วขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง(http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_6.htm)  
ว่านน้ำ เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ) (http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_9.htm) จันทน์ลูกหอม บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ ขิง แก้บิด แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วงบำรุงน้ำนม ลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ กุ่มน้ำ แก้ริดสีดวงทวาร แก้นิ่วขับหนอง แก้เจ็บตา และในลำคอ แก้ไข้ (http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_10_3.htm)
กระทือแก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม ดอกจันทร์ บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหารเปราะหอมขาว, เปราะหอมแดงขับเลือดเน่าของสตรี ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผลโกฐสอแก้หืด ไอ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น แก้ริดสีดวงทวารหนัก โกฐเขมา  เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ  แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ โกศหัวบัว แก้ปวดศีรษะ แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด โกฐเชียง ช่วยบำรุงโลหิต กระจายโลหิต โกฐจุฬาลัมพา  แก้หอบ แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ดีซ่าน เทียนดำบำรุงโลหิต  ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับระดู บีบมดลูก แก้โรคลม ขับพยาธิมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด เทียนแดง ขับน้ำนม  แก้ลักปิดลักเปิด ฟอกโลหิต มีฤทธิ์ขยายหลอดลม(http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=68)
เทียนขาว  บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับเสมหะ แก้นิ่ว ขับระดูขาว ผสมกับยาระบายแก้ปวดมวน ไซร้ท้อง ใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย(http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=66)  
เทียนตาตั๊กแตน  บำรุงธาตุ แก้โรคกำเดา แก้ท้องอืดเฟ้อเทียนข้าวเปลือก  บำรุงกำลัง ขับผายลม ขับเสมหะ (http://www.thaicrudedrug.com/main.php?action=viewpage&pid=70)
        
ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงผลที่ได้จากการรับประทานยานั้น เราจึงได้ทำการศึกษาบทบาทของยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือนโดยการนำสมุนไพรต่างๆนั้นมาต้มเหมือนกับยาโบราณ

วัตถุประสงค์
        การศึกษาบทบาทของยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้
        1.ศึกษาข้อมูลของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวด           ประจำเดือน
        2.ศึกษาผลการใช้ยาสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน

ขอบเขตของการศึกษา
        1.สมุนไพรต่างๆ
        2.งบประมาณในการทดลอง 300 บาท
        3.คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต

ด้านระยะเวลา

        20 สิงหาคม 15 ตุลาคม 2555 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทั้งหมด 57วัน

ด้านเนื้อหา
        ในการศึกษาทดลองครั้งนี้มุ่งเน้นด้านสรรพคุณของยาสมุนไพรเพื่อทดสอบว่าสูตรยาโบราณที่ได้มานั้นสามารถช่วยรักษาอาการปวดประจำเดือน บำรุงโลหิตได้หรือไม่

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
        1.ทำให้รู้ถึงสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ เพื่อนำมาทำยาที่มีประสิทธิภาพและเห็นผลได้จริง
        2.เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า และทดลอง ขั้นตอนในการทำยาสมุนไพรและพัฒนา           ประสิทธิภาพของยาที่สามารถรักษาอาการอื่นๆได้
        3.ยาสมุนไพรสามารถรับประทานรักษาอาการปวดประจำเดือนได้และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต

บทที่ 2


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
       การศึกษาทดลองบทบาทของสมุนไพรในการรักษาอาการปวดประจำเดือน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสรรพคุณของตัวยาสมุนไพรและวิธีการนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน

ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังมีหัวข้อต่อไปนี้
 - ลักษณะและสรรพคุณของสมุนไพรทั้ง 24ชนิด

       1.พริกไทย
มีความสูงประมาณ 5 เมตร ลักษณะของลำต้นเป็นข้อๆ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ดอกของพริกไทยจะมีขนาดเล็ก จะออกช่อตามข้อเป็นพวง เมล็ดจะมีลักษณะกลมติดกันเป็นพวง ใบแก้ลมจุกเสียด แน่น ท้องอืดเฟ้อปวดมวนท้อง เมล็ดผลที่ยังไม่สุกนำมาทำเครื่องเทศ แต่งกลิ่นอาหาร ผลแก่ 15-20 เมล็ด บดเป็นผงชงน้ำกินให้หมด 1 ครั้ง ช่วยขับลม ขับเสมหะขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงธาตุแก้อาการอาหารไม่ย่อย1ดอกแก้ตาแดงช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น ระงับอาเจียนผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์






2.กานพลู สูง 9-12 เมตร อาจสูงได้ถึง 20 เมตร เรือนยอดเป็นรูปกรวยคว่ำ แตกกิ่งต่ำ ลำต้นตั้งตรง เปลือกเรียบ สีเทา แผ่นใบด้านบนเป็นมัน มีต่อมน้ำมันมาก ช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่น ออกที่ปลายยอด ก้านช่อดอกสั้นมาก  กานพลูเป็นพรรณไม้พื้นเมืองของหมู่เกาะโมลุกกะ นำไปปลูกในเขตร้อนทั่วโลก ในปะเทศไทยนำมาปลูกบ้างแต่ไม่แพร่หลาย ชอบขึ้นในดินร่วนซุย การระบายน้ำดี ความชื้นสูง เปลือกต้น แก้ปวดท้อง แก้ลม คุมธาตุใบ แก้ปวดมวนดอกตูม รับประทานขับลม ใช้แต่งกลิ่น ดอกกานพลูแห้ง ที่ยังไม่ได้สกัดเอาน้ำมันออก และมีกลิ่นหอมจัด มีน้ำมันหอมระเหยมาก รสเผ็ด ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง และแน่นจุกเสียด แก้อุจจาระพิการ แก้โรคเหน็บชา แก้หืด แก้ไอ แก้น้ำเหลืองเสีย แก้เลือดเสีย ขับน้ำคาวปลา แก้ลม แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้เสมหะเหนียว ขับผายลม ขับลมในลำไส้ แก้ท้องเสียในเด็ก แก้ปากเหม็น แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้รำมะนาด กับกลิ่นเหล้า แก้ปวดฟันผล ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นตัวช่วยให้มีกลิ่นหอม  น้ำมันหอมระเหยกานพลู ใช้เป็นยาชาเฉพาะแห่ง แก้ปวดฟัน ฆ่าเชื้อทางทันตกรรม เป็นยาระงับการชักกระตุก











        3.กระวาน ลำต้นเป็นเหง้าหรือหัวใต้ดิน มีข้อประมาณ 8 - 20 ข้อ กระวานเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ก้านใบโค้งมีกาบใบติดกัน ใบออกสลับกันที่โคนต้น ใบมีสีเขียวเป็นมัน ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน ผิวใบเรียบ ราก แก้โลหิตเน่าเสีย ฟอกโลหิต แก้ลม เสมหะให้ปิดธาตุ รักษาโรครำมะนาดหัวและหน่อ ขับพยาธิในเนื้อให้ออกทางผิวหนังเปลือก แก้ไข้ผอมเหลือง รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้อันง่วงเหงา ขับเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไขอันเป็นอชินโรคแก่น ขับพิษร้าย รักษาโรคโลหิตเป็นพิษกระพี้ รักษาโรคผิวหนัง บำรุงโลหิตใบ แก้ลมสันนิบาด ขับผายลม ขับเสมหะ รักษาโรครำมะนาด แก้ไข้เซื่องซึม แก้ลม จุกเสียด บำรุงกำลังผลแก่ รสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม มีน้ำมันหอมระเหย (Essentialoil) 5-9 เปอร์เซ็นต์ มีฤทธิ์ขับลมและบำรุงธาตุยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย แก้ลมจุกเสียดแน่นเฟ้อ





4.ดีปลี เป็นไม้เลื้อยชนิดหนึ่ง ใบรูปไข่ โคนมน ปลายแหลม เป็นพืชใบเดี่ยว คล้ายใบย่านางแต่ผิวใบมันกว่า บางกว่าเล็กน้อย ดอกเป็นรูปทรงกระบอกปลายมน เมื่อแก่จะมีผลเป็นสีแดง  แก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาต แก้ตัวร้อน แก้พิษคุดทะราดให้ปิดธาตุ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้  แก้คุดทะราด แก้พิษงู ขับเสมหะ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้ปวดเมื่อย แก้เส้นเอ็น ดอก - แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน แก้จุกเสียดแน่นท้อง ขับลมในลำไส้ให้ผายและเรอ แก้หืด ไอ แก้ริดสีดวง คุดทะราด แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ น้ำลายเหนียว แกไอ บำรุงธาตุ แก้ท้องเสียรสเผ็ดร้อน แก้ลม บำรุงธาตุไฟ แก้หืดไอ แก้เสมหะ(หลังเป็นหวัด) แก้หลอดลมอักเสบ ยาขับระดู







5.ไพล เป็นไม้ล้มลุกสูง 0.7-1.5 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกสี



น้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองถึงเหลืองแกมเขียว ดอกช่อ แทงจากเหง้าใต้ดิน กลีบดอกสีนวล ใบประดับสีม่วง ผลเป็นผลแห้งรูปกลม เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิด ท้องเดิน ขับประจำเดือนสตรี ทาแก้ฟกบวม แก้ผื่นคันเป็นยารักษาหืด รักษาอาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แพลงช้ำเมื่อยช่วยขับระดู ประจำเดือนสตรี เลือดร้าย แก้มุตกิตระดูขาว แก้อาเจียน แก้ปวดฟันขับโลหิตกระจายเลือดเสียแก้ธาตุพิการ แก้อุจาระพิการแก้ไข้ ปวดเมื่อย แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว แก้เมื่อย



(http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_06_6.htm)



6.เร่ว เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ในดิน จัดเป็นพืชสกุลเดียวกับ กระวาน ข่า ขิง ใบมีลักษณะยาวเรียว ปลายใบแหลมและห้อยโค้งลง ก้านใบมีขนาดสั้น ออกดอกเป็นช่อจากยอดที่แทงขึ้นมาจากเหง้า ดอกมีสีขาวก้านช่อดอกสั้น ผลมีขนสีแดงปกคลุม




เมล็ดมีสีน้ำตาล เป็นยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้คลื่นเหียนอาเจียน ขับน้ำนมหลังจากคลอดบุตร รักษาโรคริดสีดวงทวาร แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ปวดท้อง







       7.ว่านน้ำ เป็นพืชสมุนไพรที่มีพลังร้อน มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินเป็นแท่งค่อนข้างแบน ใบมีลักษณะแข็งตั้งตรง ปลายใบจะแหลม ใบเรียงสลับกันซ้ายขวาเป็นแผง ดอกมีสีเขียวขนาดเล็กจะออกดอกเป็นช่อ สามารถใช้เป็นยาแก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ แก้จุก ขับลมในลำไส้ ปรุงลงในยาขมต่างๆ ทำให้ระงับอาการปวดท้องได้เพราะในว่านน้ำมีสารชนิดหนึ่งเรียกว่า อาโกริน ที่มีรสขมและแอลคาลอยด์ คาลาไมท์เป็นยาแก้บิด เป็นยารักษาบิดของเด็ก (คือมูกเลือด) และหวัดลงคอ (หลอดลมอักเสบ)




8.จันทน์ลูกหอม เป็นไม้ต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาลแข้มอมเทา กิ่งอ่อนยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมแผ่นใบเรียบเป็นมันลื่น สีเขียวเข้มผล รูปกลมแป้นเรียกว่า ลูกจัน ไม่มีเมล็ด ผลกลม เรียกว่า อิน มีเมล็ด ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม รับประทานได้ ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดทน บำรุงประสาท บำรุงเนื้อหนังให้สดชื่น แก้ไข้ แก้ปอดตับพิการ แก้ดีพิการ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้เหงื่อตกหน้า ขับพยาธิ


       9.ขิง มีเปลือกนอกสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีนวลมีกลิ่นหอมเฉพาะ แทงหน่อหรือลำต้นเทียมขึ้นเป็นกฮประกอบด้วยกาบหรือโคนใบหุ้มซ้อนกัน ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยวรสหวานเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน แก้หอบไอ ขับเสมหะ แก้บิด แก้จุกเสียด แก้ท้องร่วงบำรุงน้ำนม แก้ไข้ แก้คอแห้ง เจ็บคอ แก้ตาฟาง เป็นยาอายุวัฒนะ ขิงยังมีสารอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย คือโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต แคลเซียม วิตามินเอและอีกมากมาย










       10.กุ่มน้ำ ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 5-20 ม. ใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อย 3 ใบ ก้านใบประกอบยาว 4-14 ซม. หูใบเล็ก ร่วงง่ายแผ่นใบค่อนข้างหนาเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบนขับเหงื่อมีเมล็ดมาก เมล็ดสีน้ำตาลเข้มแก้สะอึกส่วนที่ใช้คือใบ เปลือก กระพี้ แก่น ราก ดอก ผล แก้ริดสีดวงทวาร แก้นิ่วขับหนอง แก้เจ็บตา และในลำคอ แก้ไข้



       11.กระทือ เป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5 - 1 เมตร มีเหง้าใต้ดิน เปลือกนอกของเหง้าสีน้ำตาลแกมเหลือง เนื้อในสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม แทงหน่อใหม่เมื่อถึงฤดูฝน ใบเดี่ยวเรียงสลับ และเป็นรูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 5 - 10 ซม. ยาว 15 - 30 ซม. ด้านล่าง ของใบมักมีขนนุ่ม ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาวนวล ใบประดับขนาดใหญ่สีแดง ผลเป็นผลแห้ง ขับลม แก้ปวดมวนแน่นท้อง แก้บิด บำรุงน้ำนม



       12.ดอกจันทร์ เป็นส่วนหนึ่งของผลต้นจันทร์เทศ ส่วนที่ใช้เป็นเครื่องเทศ คือ เยื่อหุ้มเมล็ด (รก) ลักษณะเป็นเส้นใยแบน สีแสด กลิ่นหอมฉุนมาก รสค่อนข้างเปรี้ยวอมฝาด เวลาใช้นำมาป่นละเอียดใส่เพียงเล็กน้อยในเครื่องแกง สรรพคุณทางสมุนไพร บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร





13.เปราะหอมขาว, เปราะหอมแดง มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน เรียกว่า เหง้า เนื้อภายในสีเหลืองอ่อน มีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก มีกลิ่มหอมเฉพาะตัว ใบอ่อนม้วนเป็นกระบอกออกมาแล้วแผ่ราบบนหน้าดิน เปราะหอมแดงจะมีท้องใบสีแดง เปราะหอมขาวจะมีท้องใบสีขาว มีกลิ่นหอม หัวกลมเหมือนหัวกระชาย ใบงอกงามในหน้าฝน และจะแห้งไปในหน้าแล้ง แก้เด็กนอนสะดุ้งผวา ร้องไห้ตาเหลือก ตาช้อนดูหลังคา ขับเลือดเน่าของสตรี ขับเลือด และหนองให้ตก แก้ลมพิษ แก้ผื่นคัน แก้ไอ แก้บาดแผล




       14.กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน แต่ละหัวประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า กระเทียมโทนแต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กระเทียมมีรากไม่ยาวนัก ใบมีลักษณะยาวแบน ปลายใบแหลมแคบ โคนมีใบหุ้มซ้อนกัน ดอกออกเป็นช่อ มีสีขาวติดเป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อ กระเทียมมีกลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตันและกล้ามเนื้อหัวใจหยุดทำงานเฉียบพลัน ช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ความดันโลหิตสูง และปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด
(http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1


15.โกฐสอ มีลักษณะกลมยาวคล้ายหัวผักกาดแต่มีขนาดเล็กกว่าและแข็งกว่ามากขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 2 ซม. ยาวราว10-25 ซม.มีขนาดต่างๆผิวสีน้ำตาลมีรอยย่นๆและมีสันที่เปลือกมีประที่มีชันอยู่ เนื้อในมีสีขาวนวล มีจุดเล็กๆซึ่งเป็นชันหรือน้ำมันระเหยง่ายทำให้มีกลิ่นหอม มีรสเผ็ดร้อนและขมมัน แก้ไข้ แก้หืด ไอ แก้สะอึก แก้หลอดลมอักเสบ แก้ไข้จับสั่น แก้ริดสีดวงทวารหนัก 










16.โกฐเขมา  เป็นเหง้าแห้งค่อนข้างกลมหรือยาว หรือรูปทรงกระบอก หรืออาจมีแง่งยาวแยกออกไป ยาว 3-10 เซนติเมตร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผิวเป็นปุ่มปม ขรุขระ สีน้ำตาลอมเทา มีรอยย่นและรอยบิดตามขวาง เนื้อแน่น เมื่อฝานหัวออกใหม่ๆจะมีสีขาวมอที่ด้านใน ผิวสีเหลือง เนื้อในมีแต้มสีแสดของชันน้ำมันอยู่ประปรายทั่วไป  มีกลิ่นหอมเฉพาะ รสหวานอมขมเล็กน้อย และเผ็ดร้อน เป็นยาบำรุงธาตุ ขับลม เป็นยาบำรุง ใช้แก้โรคเข้าข้อ เป็นยาเจริญอาหาร ยาขับปัสสาวะ  แก้โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย แก้เสียดแทงสองราวข้าง แก้จุกแน่น แก้หอบหืด ระงับอาการหอบ แก้หวัดคัดจมูก แก้ไข้ แก้ลมตะกัง แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ แก้ท้องเสีย 










17.โกฐหัวบัว เหง้าหนา ค่อนข้างกลม ข้อป่อง ปล้องสั้น ตัดเอารากแขนงออกหมด จะได้เหง้ารูปคล้ายกำปั้น ผิวตะปุ่มตะป่ำไม่สม่ำเสมอ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลือง สาก เหี่ยวย่น เนื้อแน่น หักยาก รอยหักสีขาวอมเหลืองหรือสีเหลืองอมเทา มีท่อน้ำมันสีน้ำตาลอมเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป มีกลิ่นหอมรุนแรง ฉุน รสขม มัน แต่จะหวานภายหลัง และชาเล็กน้อย แก้ปวดศีรษะ แก้โรคโลหิตจาง แก้ปวดประจำเดือน แก้ประจำเดือนมาไม่ปรกติ ปวดเจ็บต่างๆรวมทั้งปวดฟัน อาเจียนเป็นเลือด ไอ วัณโรค โรคเข้าข้อ ตกเลือด





       18.โกฐเชียง ผิวนอกสีน้ำตาลอมเหลืองถึงน้ำตาล รากมีรอยย่นเป็นแนวตามยาว รอยช่องอากาศตามแนวขวาง ผิวไม่เรียบ มีรอยควั่นเป็นวงๆมีขนาด 6-7 ซม.ยาวราว 4 ซม. มีรอยแผลเป็นของใบปรากฏอยู่ตอนบน มีรากแขนงยาวราว 10 ซม. และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางราว 1.5 ซม.ตอนบนหนาตอนล่างเรียวเล็ก ส่วนมากบิด เนื้อเหนียว รอยหักสั้นและนิ่ม รอยหักของเหง้าแสดงว่ามีผิวหนามากเกือบถึงครึ่งเหง้า มีต่อมน้ำยางสีน้ำตาลหรือสีเหลืองแกมแดงออกเป็นแนวรัศมีจากกลางเหง้า ส่วนที่เป็นเนื้อมีสีเหลือง มีรูพรุน มีแกนสีขาว ช่วยบำรุงโลหิต กระจายโลหิต








       19.โกฐจุฬาลัมพา  ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ เนื้อใบบาง กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-7 ซม. ขอบใบหยักลึกแบบขนนก 3 (หรือ 4)ชั้น เป็น 5-8 คู่ เส้นกลางใบเด่นชัดบริเวณใกล้แกน ดอกช่อสีเหลืองอ่อน ช่อดอกเป็นช่อแยกแขนงรูปพีระมิดกว้าง ช่อแขนงเป็นช่อกระจุกแน่น รูปทรงกลม มีจำนวนมาก อยู่ห่างๆกัน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 มิลลิเมตร ก้านดอกย่อยสั้น กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายหยักเป็นฟัน 5 ซี่ มีกลิ่นเฉพาะ  รสขม  แก้ไข้เพื่อเสมหะ ไข้มาลาเรีย แก้หืด แก้หอบ แก้ไอ ใช้เป็นยาขับเหงื่อ แก้ดีซ่าน









20.เทียนดำ   เมล็ดรูปสามเหลี่ยม ถึงห้าเหลี่ยม สีดำ เนื้อในสีขาว ขนาดกว้าง 1.4-1.8 มิลลิเมตร ยาว 2.5-3.0 มิลลิเมตร   เมล็ดแก่แห้ง มีสีดำสนิท ผิวนอกขรุขระ ไม่มีขน มีกลิ่นเล็กน้อย และค่อนข้างแข็ง หากใช้มือถูที่เมล็ด หรือนำเมล็ดไปบด จะได้กลิ่นหอม ฉุน มีรสชาติขม เผ็ด ร้อน คล้ายเครื่องเทศช่วยย่อย แก้ท้องอืด เฟ้อ แก้อาเจียน บำรุงโลหิต  ขับน้ำนม ขับปัสสาวะ ขับระดู บีบมดลูก แก้โรคลม ขับพยาธิมีฤทธิ์ยับยั้งอาการปวด









21.เทียนแดง เมล็ดแก่แห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือแดงอมน้ำตาล ขนาดเล็ก กว้าง 1-1.4 มิลลิเมตร ยาว 2.5-2.8 มิลลิเมตร รูปไข่ ผิวมันลื่น เรียบไม่มีขน ปลายข้างที่เรียบมีลักษณะเป็นร่องตามแนวยาวสั้นๆ เปลือกเมล็ดจะพองตัวเมื่อถูกความชื้น  เมล็ด มีรสชาติเผ็ดร้อน ขมเล็กน้อย มีกลิ่นหอมหอม ใช้แก้เสมหะ แก้ลม แก้น้ำดีพิการ แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลมเสียดแทงสองราวข้าง  ขับน้ำนม  แก้ลักปิดลักเปิด ฟอกโลหิต มีฤทธิ์ขยายหลอดลม






        22.เทียนขาว  ผลแห้ง รูปยาวรี สีน้ำตาล กว้าง 1.3-2.0 มิลลิเมตร ยาว 4.5-6.7 มิลลิเมตร เมื่อแก่แตก แบ่งเป็น 2 ซีก แต่ละซีกมี 1 เมล็ด ซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันหรือด้านแนวเชื่อม มีลักษณะเว้า ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของผล ลักษณะคล้ายเส้นด้ายจำนวน 3 เส้น ด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันนูน พบขนแข็งสั้นๆ หักง่ายปกคลุมอยู่ที่สัน ระหว่างสันมีลักษณะเป็นเนินเล็กๆ มีขนแข็ง เมล็ดมีกลิ่นหอม น้ำมันจากเมล็ดมีรสชาติเผ็ดร้อน ขม มีฤทธิ์กระตุ้น ขับลม ใช้ขับผายลมในเด็ก ปรุงเป็นยาหอมขับลมในลำไส้ บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ ขับเสมหะ แก้นิ่ว ขับระดูขาว ผสมกับยาระบายแก้ปวดมวน ไซร้ท้อง ใช้เป็นยาฝาดสมานแก้ท้องเสีย








23.เทียนตาตั๊กแตน  เป็นรูปไข่ คล้ายตาตั๊กแตน ด้านข้างแบน ไม่มีขน ขนาดกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ผิวเรียบ ผลแห้งแยกเป็น 2 ส่วน แต่ละส่วนเป็น 1 เมล็ด ผลแห้งส่วนมากมักไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก    เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมแบน ด้านข้างของเมล็ดมีลักษณะยื่นออกไปคล้ายปีก ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของเมล็ดจำนวน 3 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนจากผิว สีน้ำตาลอ่อน เมล็ดมีสีน้ำตาลเข้ม บดเป็นผงมีสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสขม เผ็ดเล็กน้อย ใช้เป็นยาขับลม บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืดเฟ้อในเด็ก แก้เสมหะพิการ แก้โรคกำเดา น้ำมันเทียนตาตั๊กแตน ระงับอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ แก้เส้นท้องพิการ แก้นอนสะดุ้ง คลุ้มคลั่ง 



        24.เทียนข้าวเปลือก  ผลแห้ง รูปขอบขนาน ด้านข้างค่อนข้างแบน ไม่มีขน ผิวเรียบ เมล็ดหรือซีกผลมีลักษณะด้านนอกนูน ด้านในที่ประกบกันของเมล็ดหรือด้านแนวเชื่อมค่อนข้างแบนหรือเว้าเล็กน้อย ด้านที่นูนมีสันตามแนวยาวของเมล็ดจำนวน 3 เส้นด้านแนวเชื่อม 2 เส้น สันมีลักษณะยื่นนูนจากผิวเด่นชัด เมล็ดมีสี ผลมักไม่ค่อยแตกเป็น 2 ซีก ทำให้ดูคล้ายข้าวเปลือก แต่ก็มีบ้างที่อาจแตกเป็น 2 ซีก ภายในแต่ละซีกมีเมล็ด 1 เมล็ด ทำให้ดูเหมือนแกลบ  เมื่อบดเป็นผงมีสีน้ำตาลอมเหลืองถึงน้ำตาลอมเขียว กลิ่นหอมเฉพาะตัว รสหวาน และเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ขับผายลม ขับเสมหะ